ประกาศ
เรื่อง ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลกงรถพ.ศ. 2557
.........................................................
ตามที่เทศบาลตำบลกงรถ ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดตั้งระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ขึ้น เพื่อให้การบริหารและการใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เป็นไปด้วยความโปร่งใสมีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีระบบรองรับการดำเนินงาน คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลกงรถ จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลกงรถ พ.ศ. 2557”
ข้อ 2 ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ 4 ที่ตั้ง ณ สำนักงานเทศบาลตำบลกงรถ หมู่ที่ 3 ตำบลกงรถ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
ข้อ 5 ในระเบียบนี้
“เทศบาลตำบล” หมายความว่า เทศบาลตำบลกงรถ
“สภาเทศบาลตำบล” หมายความว่า สภาเทศบาลตำบลกงรถ
“กองทุนหลักประกันสุขภาพ” หมายความว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลกงรถ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
“คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลกงรถ
“การจัดบริการสาธารณสุข” หมายความว่า การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ตามที่คณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานกำหนด
“สถานบริการ” หมายความว่า สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ของเอกชน และของสภากาชาดไทย หน่วยบริการประกอบโรคศิลปะสาขาต่าง ๆ และสถานบริการสาธารณสุขอื่นที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม
“หน่วยบริการ” หมายความว่า สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
“หน่วยงานสาธารณสุข”หมายความว่า หน่วยงานที่มีภารกิจด้านการสาธารณสุขโดยตรง แต่มิได้เป็นสถานบริการหรือหน่วยบริการ เช่น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
“หน่วยงานอื่น” หมายความว่า หน่วยงานที่มิได้มีภารกิจด้านการสาธารณสุขโดยตรงแต่อาจดำเนินกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรคได้ในขอบเขตหนึ่ง เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด สถาบันการศึกษา เป็นต้น
“ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน” หมายความว่า องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน หรือภาคเอกชน ที่มีการรวมกันเป็นกลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรที่เรียกชื่ออื่นตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป ซึ่งมีการรวมตัวกันดำเนินกิจกรรมโดยมีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหาผลกำไร ทั้งนี้จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้
ข้อ 6 ให้ประธานกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวดที่ 1
วัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ
--------------------------------
ข้อ 7 เพื่อสนับสนุนการจัดบริการของหน่วยบริการสาธารณสุขในการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและฟื้นฟูสุขภาพสำหรับประชาชน โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสในตำบลกงรถ ได้เข้าถึงการบริการได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีคุณภาพมาตรฐาน
ข้อ 8 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายแม่และเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง
และผู้ป่วยเรื้อรัง ในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
ข้อ 9 เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยตนเองและร่วมบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
ข้อ 10 เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ข้อ 11 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง
หมวดที่ 2
สมาชิกกองทุนหลักประกันสุขภาพ
--------------------------------
ข้อ 12 สมาชิกกองทุนหลักประกันสุขภาพ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในตำบล
กงรถ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
(2) เป็นผู้พร้อมที่จะปฏิบัติตามระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพ
หมวดที่ 3
คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
--------------------------------
ข้อ 13 คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วย
และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลกงรถ
ตามความเหมาะสมของคณะกรรมการบริหารกองทุน
ข้อ 14 คณะกรรมการและอนุกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) จัดทำข้อมูลและแผนดำเนินการที่เกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุข กลุ่มเป้าหมายและหน่วยบริการ
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(2) ดำเนินการให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ในความรับผิดชอบสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้าน ในชุมชนหรือหน่วยบริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
(3) บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและจัดทำสรุปผลการดำเนินงานหรืองบดุล เมื่อสิ้นปีงบประมาณเพื่อนำเสนอสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและองค์การบริหารส่วนตำบลภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
(4) รับผิดชอบการเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สิน
ในระบบหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามรูปแบบที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
(5) จัดตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามความจำเป็น
ข้อ15คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพอยู่ในวาระ คราวละ ๔ ปี
ข้อ 16 เมื่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ อยู่ในตำแหน่งครบวาระ๔ปีหรือพ้นจากตำแหน่ง แล้วยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพใหม่
ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพที่ครบวาระหรือพ้นจากตำแหน่ง อยู่ในตำแหน่ง
เพื่อดำเนินการต่อไปจนกว่าคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่
เข้ารับหน้าที่
ข้อ 17 เมื่อตำแหน่งคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 13 (2) (4) และ(5) ว่างลงเพราะเหตุใดนอกจากครบวาระให้มีการคัดเลือกผู้แทนเป็นคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในตำแหน่งที่ว่างภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง และให้ผู้ซึ่งได้รับเลือกแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีประธานกรรมการ (นายกเทศมนตรีตำบล) หมดวาระให้ปลัดเทศบาลตำบล ทำหน้าที่เป็นประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพแทน และหากปลัดเทศบาลตำบลมีการโอน(ย้าย) ให้ผู้ทำหน้าที่รักษาการปลัดทำหน้าที่แทนกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง
ในกรณีคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 13 (2) ถึงคราวออกตามอายุของสภาเทศบาลตำบล ให้เทศบาลตำบลเสนอญัตติเข้าสภาเทศบาลตำบลเพื่อคัดเลือกผู้แทน เป็นคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในตำแหน่งที่ว่างลง
ข้อ 18 คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ครบกำหนดวาระ
(2) ตาย
(3) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(4) สิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลตำบล
(5) พ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรี
(6) ต้องโทษจำคุกฐานกระทำความผิดในคดีอาญา ยกเว้นการกระทำความผิดลหุโทษหรือกระทำความผิดโดยประมาท
(7) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
(8) เป็นบุคคลล้มละลาย
(9) ขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการตามข้อ 13 (2)-(5)
(10) โดยคำสั่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ข้อ 19 ให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ อย่างน้อยสามเดือนต่อ
หนึ่งครั้ง โดยต้องมีกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงเป็นองค์ประชุม
ข้อ 20 มีระเบียบวาระในการประชุม และในการประชุมให้ที่ประชุมพิจารณาเฉพาะเรื่องที่อยู่ในระเบียบวาระการประชุมเท่านั้น
/ข้อ 21...
ข้อ 21 มติที่ประชุมให้ใช้ฉันทามติ (ความเห็นพร้อม) เป็นเกณฑ์มากกว่าการตัดสินใจโดยใช้เสียงข้างมากบังคับ หรืออาจจะใช้มติที่ประชุมเสียงข้างมากก็ได้ การลงมติให้กระทำโดยเปิดเผยหรือวิธีลับทั้งนี้ให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ กรณีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการมีสิทธิออกเสียงเพิ่มได้อีกหนึ่งเสียง ซึ่งถือเป็นผู้ชี้ขาดและให้ถือเป็นที่สุด
ข้อ 22 ที่ปรึกษาของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพมีสิทธิเข้าร่วมประชุมและ
มีสิทธิแสดงความคิดเห็นใดๆ ก็ได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ
ข้อ 23 คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานทำหน้าที่ตามบทบาทในคำสั่งแต่งตั้ง ซึ่งลงนามโดยประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพ โดยไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ แต่รับเบี้ยประชุมได้
ข้อ 24 มีการจัดทำบันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
ให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ได้ เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับใช้ในการอ้างอิงค้นคว้าโดยมอบให้ประธานกรรมการและเลขานุการเป็นผู้ลงนามและรับผิดชอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ครบถ้วนของรายงานทุกครั้ง
ข้อ 25 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพทุกครั้ง ให้ฝ่ายเลขานุการถือเป็นวาระประจำที่จะต้องมีการรายงานบัญชีรับ-จ่าย และสถานการณ์การเงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพ
ข้อ 26 ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพและคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้รับเบี้ยประชุมครั้งละไม่เกิน 300 บาทต่อวัน โดยจะต้องเข้าร่วมประชุมจนเสร็จสิ้นการประชุม
ในแต่ละครั้ง
หมวดที่ 4
การบริหารงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพ
--------------------------------
ข้อ 27 เงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพได้มาจาก
(1) เงินค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในส่วนของการ
สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
(2) เงินอุดหนุนหรืองบประมาณที่ได้รับจากเทศบาลตำบลกงรถ
(3) เงินสมทบจากชุมชนหรือกองทุนชุมชน
(4) รายได้อื่น ๆ หรือทรัพย์สินที่ได้รับมาในกิจการของกองทุนหลักประกันสุขภาพ
ข้อ 28 บรรดาเงินรายรับในกองทุนหลักประกันสุขภาพให้นำส่งเข้าบัญชี “กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลกงรถ .” ที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาห้วยแถลง ประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 191-2-88139-5
ข้อ 29 การรับเงินเข้ากองทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพให้รับเป็นเงินสด เช็ค ตั๋วแลกเงิน
หรือธนาณัติ
ข้อ 30 การรับเงินกองทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้ออกใบเสร็จรับเงินในนามของ
คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้ง เว้นแต่การรับเงินค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและอุดหนุนหรืองบประมาณที่ได้รับจากเทศบาลตำบลกงรถ หรือการรับเงินทางธนาคาร ให้ใช้สำเนาใบนำฝากเงินธนาคาร
เป็นหลักฐานหรือใช้หลักฐานอื่นที่คณะกรรมการเห็นสมควรก็ได้
ข้อ 31 ให้คณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพมอบหมายให้กรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ เป็นผู้รับผิดชอบในการรับเงินและนำส่งเงินเข้าบัญชีกองทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพ ภายในสามวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเงิน
ข้อ 32 คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพอาจสั่งจ่ายเงินที่ได้รับตามข้อ 27 ภายใต้กรอบแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการอนุมัติ ดังนี้
(1) สนับสนุนงบประมาณเป็นรายปีแก่หน่วยบริการในเขตพื้นที่
(2) สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการหรือสถานบริการอื่น หรือสถานบริการทางเลือก เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพอย่างน้อยตามประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
(3) สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กลุ่มประชาชนหรือองค์กรประชาชนในเขตพื้นที่จัดทำกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่
(4) สนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อบริหารหรือพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้
ต้องไม่เกินร้อยละสิบ ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของระบบหลักประกันสุขภาพในรอบปีงบประมาณนั้น
ข้อ 33 วิธีการจ่ายเงินกองทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้จ่ายได้ ดังนี้
(1) จ่ายเป็นเงินสด หรือเช็ค หรือตั๋วแลกเงิน หรือธนาณัติ
(2) จ่ายทางธนาคารหรือทางอื่นที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ 34 การจ่ายเงินตามข้อ 33 ให้จ่ายในนามของผู้มีสิทธิรับเงิน ถ้าผู้มีสิทธิรับเงินไม่สามารถมารับเงินด้วยตนเอง จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้รับเงินแทน ก็ให้กระทำได้
/ข้อ 35....
ข้อ 35 การจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพต้องมีหลักฐานการจ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญรับเงิน หรือหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากที่ธนาคารของผู้มีสิทธิรับเงินหรือหลักฐานการรับเงินอย่างอื่นที่คณะกรรมการกำหนด เก็บไว้ให้ตรวจสอบ พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิรับเงิน
ทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงิน
ข้อ 36 ในการเก็บรักษาเงิน ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาห้วยแถลง ประเภทบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลกงรถ ”
ข้อ 37 การเปิดบัญชี ตามข้อ 36 ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ มอบหมายให้ประธานกรรมการและกรรมการอื่นอีก 3 คน มีอำนาจลงนามร่วมกันในการเปิดบัญชี และเบิกจ่ายเงินจากบัญชีที่เปิดไว้กับธนาคารตามจำนวนที่คณะกรรมการอนุมัติ ส่วนการเบิกจ่ายเงินให้ผู้มีอำนาจ 2 ใน 4 คน
ที่ร่วมกันลงนามในการเปิดบัญชีเป็นผู้ลงนามในการเบิกจ่าย
ข้อ 38 กรณีที่มีความจำเป็น คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ อาจมอบหมายให้ประธานกรรมการหรือกรรมการและเลขานุการ เก็บรักษาเงินสดไว้เพื่อสำรองจ่ายภายในวงเงินไม่เกิน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ต่อวัน
ข้อ 39 อำนาจการอนุมัติงบประมาณกองทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพมีดังนี้
(1) ในกรณีที่วงเงินไม่เกิน 20,000.-บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ให้เป็นอำนาจของประธานกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสามารถอนุมัติได้ โดยต้องนำเข้าแจ้งคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป
(2) ในกรณีที่วงเงินเกิน 20,000.-บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ให้อนุมัติโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
ข้อ 40 การบันทึกบัญชีให้ใช้แนวทาง ดังต่อไปนี้
(1) ให้บันทึกตามระบบบัญชีขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ถือปฏิบัติ แต่ให้แยกระบบบัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพ ออกจากระบบบัญชีปกติเป็นอีกชุดหนึ่งต่างหาก
(2) รอบระยะเวลาบัญชี ให้ถือตามปีงบประมาณ
(3) การเริ่มระบบบัญชีให้เริ่ม ณ วันที่ได้รับเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือได้รับเงินจากเทศบาลตำบลกงรถ
(4) ให้คณะกรรมการจัดทำรายงานการรับเงิน-จ่ายเงินและเงินคงเหลือประจำเดือน ประจำไตรมาส และประจำปีงบประมาณ
ข้อ 41 ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพนำเสนอรายงานการเงินให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเทศบาลตำบลกงรถทุกไตรมาส ภายในสามสิบวัน
นับจากวันสิ้นไตรมาส และรายงานเมื่อสิ้นปีงบประมาณภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
/ข้อ 42 ….
ข้อ 42 การพิจารณางบประมาณสนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพ สามารถสนับสนุนกิจกรรมได้ 4 ลักษณะ ดังนี้คือ
(1) การจัดบริการสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์เพื่อให้สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มหญิงมีครรภ์ กลุ่มเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดถึงต่ำกว่า 6 ปี กลุ่มเด็กโตและเยาวชน อายุตั้งแต่ 6 ปี ถึงต่ำกว่า 25 ปี กลุ่มผู้ใหญ่ คือ อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้พิการและทุพพลภาพ กลุ่มผู้สูงอายุ
(2) สนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยบริการสุขภาพที่อยู่ในชุมชนท้องถิ่น เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข เป็นต้น
(3) การสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชนและชุมชนท้องถิ่น
(4) การบริหารกองทุน/พัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนและอื่นๆ ไม่เกินร้อยละสิบ เช่น เบี้ยประชุม อาหารว่าง/กลางวัน เอกสารการประชุม ครุภัณฑ์สำนักงาน ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน แลกเปลี่ยนความรู้ จ่ายค่าตอบแทนผู้จัดทำรายงาน ค่าใช้จ่ายเดินทางเข้าร่วมประชุมภายนอก ฯลฯ
ข้อ 43 ขั้นตอนการสนับสนุนงบประมาณจากองทุนหลักประกันสุขภาพ สำหรับกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพ ต้องทำบันทึกข้อตกลงไว้เป็นหลักฐาน เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่ายและติดตามผลการดำเนินงานโดยมีการรายงานผลการดำเนินงานเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(1) การจัดบริการสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ จะต้องมีบันทึกข้อตกลงอย่างชัดเจนว่ากองทุนหลักประกันสุขภาพได้ตกลงความร่วมมือกับหน่วยบริการสาธารณสุขนั้นในการจัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง สำหรับกลุ่มเป้าหมายใด เป็นจำนวนเท่าใด และงบประมาณสนับสนุนทั้งสิ้นเท่าไร โดยหน่วยบริการจะต้องมีหน้าที่ในการรายงานสรุปให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพได้ทราบถึงผลการจัดบริการให้สำหรับกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ ด้วย (ตามแบบที่กำหนดไว้)
(2) การสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยบริการสาธารณสุข จะต้องมีหนังสือหรือบันทึกที่เป็นทางการระหว่างกองทุนหลักประกันสุขภาพ (ผู้ให้การสนับสนุน) กับหน่วยบริการ (ผู้รับการสนับสนุน) เพื่อให้มีหลักฐานว่าเป็นการสนับสนุนกิจกรรมอะไร และอย่างไรโดยประกอบกับหลักฐานการรับ – จ่ายเงินตามระเบียบ (ตามแบบที่กำหนดไว้)
(3) การสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชนในชุมชนท้องถิ่นและกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ต้องทำบันทึกข้อตกลงอย่างเป็นกิจจะลักษณะระหว่างกองทุนหลักประกันสุขภาพ (ผู้ให้การสนับสนุน) กับองค์กรชุมชน (ผู้รับการสนับสนุน) นั้นๆ ว่าสนับสนุนในเรื่องอะไร จำนวนเท่าไร มีเงื่อนไขอย่างไร และต้องเป็นหน้าที่ของผู้รับการสนับสนุนจะต้องจัดทำสรุปผลการดำเนินงานเพื่อให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพทราบ เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น (ตามแบบที่กำหนดไว้)
/(4) การ......
(4) การบริหารจัดการกองทุน/ พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ และอื่นๆ ต้องมีการบันทึกค่าใช้จ่ายประจำและในส่วนของการพัฒนาศักยภาพการบริหารกองทุน การพัฒนากำลังคน กองทุนหลักประกันสุขภาพต้องมีแผนงานโครงการที่ชัดเจนในการสนับสนุนกิจกรรม และมีการบันทึกเป็น ลายลักษณ์อักษรถึงมติการสนับสนุนกิจกรรมของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ (ตามแบบที่กำหนดไว้)
ข้อ 44 การใดที่ไม่ได้กำหนดในระเบียบนี้ให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ทั้งนี้ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
ประกาศ ณ วันที่ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557
(ลงชื่อ)
(นายเฉลิมพร หนูแก้ว)
ประธานกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลกงรถ
ประกาศ
เรื่อง ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลกงรถพ.ศ. 2557
.........................................................
ตามที่เทศบาลตำบลกงรถ ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดตั้งระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ขึ้น เพื่อให้การบริหารและการใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เป็นไปด้วยความโปร่งใสมีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีระบบรองรับการดำเนินงาน คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลกงรถ จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลกงรถ พ.ศ. 2557”
ข้อ 2 ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ 4 ที่ตั้ง ณ สำนักงานเทศบาลตำบลกงรถ หมู่ที่ 3 ตำบลกงรถ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
ข้อ 5 ในระเบียบนี้
“เทศบาลตำบล” หมายความว่า เทศบาลตำบลกงรถ
“สภาเทศบาลต